092-760-9018(Hotline)
1.1 ดูผลการพัฒนาเปิดหน้าใหม่
  
 
 บริการตรวจบ้าน คอนโด ทาวโฮมส์ ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ตรวจสอบงานก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ผู้รับเหมาทำงานไม่ตรงตามแบบ ผู้รับเหมาทิ้งงาน โซน  กรุงเทพ และจังหวัดใกล้เคียง
โดยทีมงานวิศวกรโยธา  ,Qc ที่มีประสบการณ์ในงานก่อสร้าง และบุคลากรมืออาชีพในสายงานก่อสร้าง
ตรวจสอบบ้านโดยทีมวิศวกร มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ วิศวกรรมควบคุม พื้นที่กรุงเทพ และ ปริมณฑล


 

 
 






 จากบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีประสบการณ์ด้านบ้านมายาวนาน ทำให้รู้ปัญหาต่างๆของบ้านเป็นอย่างดี ทำให้เข้าใจปัญหา การหมกเม็ดต่างๆของผู้รับเหมาเป็นอย่างดี เราจึงสามารถตรวจบ้านได้อย่างละเอียด ตรงจุด และมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ท่านได้บ้านที่ดี มีคุณภาพ สมราคาที่ท่านลูกค้าได้จ่ายไป

เพอร์เฟคเฮ้าส์กรุ๊ป บริการตรวจสอบอาคาร,ที่พักอาศัย,ที่ปรึกษางานก่อสร้าง,บริการรับเหมาก่อสร้างบ้าน,อาคารและงานต่อเติมทุกชนิด โดยทีมเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ,Qc  สำหรับการตรวจบ้าน ค่าบริการราคาพิเศษเริ่มต้น 4,000 บาท(คอนโดตรวจ 2 รอบ) และเริ่มต้น 5,500 บาท(ทาวส์โฮมตรวจ 2 รอบ)    


อุ่นใจในการตรวจรับบ้านกับเพอร์เฟคเฮ้าส์ บริษัทรับตรวจบ้านที่ลูก โดยทีมงานมืออาชีพ   เพอร์เฟคเฮ้าส์ขออยู่เคียงคู่ท่านในการตรวจรับบ้านด้วยทีมเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ในการตรวจบ้าน บ้านเดี่ยว ทาวส์โฮม
คอนโดมิเนียมโดยเฉพาะมากกว่า 50 โครงการ ปัญหาไหนที่จำเป็นต้องแก้ไขโดยเฉพาะเรื่องปัญหาการใช้งาน พื้น ผนัง ฝ้า ประตู หน้าต่าง ระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล ถ้าตรวจพบเจอเรื่องการใช้งานที่ต้องแก้ไข ถึงแก้ยากแค่ไหนยังไงก็ต้องแก้ เราขอรับหน้าที่ในการตรวจสอบและสรุปงานแก้ไขให้กับทางโครงการเพื่อที่จะให้ทางโครงการแก้ไขบ้านท่านให้สมบูรณ์ครับ 
 
บ้านใครใครก็รัก ก่อนที่ท่านจะเป็นเจ้าของบ้าน ก่อนที่ท่านจะโอนเงินซื้อบ้านกับโครงการไหนก็ตามท่านมั่นใจแล้วเหรอ!!!ว่าบ้านท่านที่จะซื้อนั้นมีการก่อสร้างได้ถูกต้องตามหลักโครงสร้างและตามแบบแล้วหรือไม่ โปรดอย่าโอนบ้านก่อนที่เจ้าของงานจะแก้ไขงานให้ท่าน ให้ทางเจ้าของงานแก้ไขงานต่างๆให้เรียบร้อยเสียก่อน เพราะผมเคยตรวจบ้านมาหลายหลังที่เจ้าของบ้านโอนเงินให้ทางเจ้าของงานก่อนที่เจ้าของงานจะแก้งานให้เสร็จ แล้วผลปรากฏว่าเวลาจะตามเจ้าของงานมาแก้ไขงานให้ทีหลังนี่จะล่าช้ามาก งานต่างๆที่เราต้องตรวจเช็คเช่น  งานระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล งานสถาปัตยกรรมว่าเป็นที่เรียบร้อยหรือไม่ หรือทางเจ้าของโครงการเลือกใช้วัตถุตามสเปคหรือเปล่า งานสถาปัตยกรรม งานพื้นอาทิเช่น กระเบื้องปูดีหรือไม่ ยาแนวดีหรือไม่ บิ่นตรงไหน แผ่นกระเบื้องเชิดหรือไม่ งานผนัง งานฉาบดีหรือไม่ ผิวเรียบหรือไม่ ผนังร้าวตรงไหน งานฝ้า งานบัว งานประตู งานหน้าต่าง งานบันได และงานระบบไฟฟ้าอาทิเช่นสายกราวด์ต่อหรือไม่ ไฟฟ้าต่อสลับขั้วหรือไม่ ตู้ Load เรียบร้อยหรือไม่ สายนิวตรอน สายกราวด์ จำนวนครบหรือเปล่า  งานระบบสุขาภิบาล อาทิเช่น การตรวจเช็คดูการรั่วไหลของน้ำในห้องน้ำ อ่างล้างหน้า ชักโครก เป็นต้น ถังบำบัด ถังดักไขมัน บ่อพักน้ำ ติดตั้งถูกต้องหรือเปล่าเป็นต้น

เพอร์เฟคเฮ้าส์กรุ๊ป ขอให้บริการการตรวจบ้าน บ้านเดี่ยว ทาวส์โฮม คอนโดมิเนียม โดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญในการตรวจบ้านโดยเฉพาะ ด้วยราคาที่พิเศษที่สุด เรามั่นใจว่า ทางเราให้บริการการตรวจด้วยโดยเน้นในเรื่องคุณภาพ,ความเป็นกันเองและราคาถูกกว่าที่อื่น เพื่อความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า

บริการตรวจสอบบ้านทั้งในกรุงเทพ และจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศ

 , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , , 

สำหรับการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร 
รับทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตด้วยวิธี Rebound Hammer Test (Schmidt Hammer Test)

         การทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตด้วยวิธี Rebound Hammer Test (Schmidt Hammer Test)เป็นการทดสอบ เพื่อประเมินค่ากำลังอัดของคอนกรีตในโครงสร้างแบบไม่ทำลาย Non-Destructive Test)ตามมาตรฐาน ASTM C805 โดยประเมินค่ากำลังอัดประลัย หรือค่า Fc' ของคอนกรีต โดยอาศัยหลักการวัดค่าดัชนีสะท้อนกลับ (Rebound Number) ที่เกิดจากการกดแกนทดสอบ (Plunger) และกระบอกทดสอบ(Housing) ให้ตั้งฉากกับผิวคอนกรีต แรงกระแทกจากสปริงภายในจะทำให้แกนทดสอบเกิดการสะท้อนกลับมีค่า ดัชนีตั้งแต่ 10 ถึง 100 ขึ้นอยู่กับความสามารถในการดูดซับพลังงานของผิวคอนกรีต ผิวคอนกรีตที่มีความแข็งมากกว่า จะมีค่าดัชนีสะท้อนกลับสูงกว่า

ตัวอย่างรายการ Defect ที่พบบ่อยในการตรวจรับบ้านก่อนโอน

   
1 ประปาน้ำรั่วซึม ซึ่งการรั่วซึมอาจเกิดที่บริเวณเกลียวข้อต่อหรือบางทีอาจเกิดการรั่วซึมในผนังซึ่งอาจเกิดจากท่อประปาแตกในผนัง 

2 รอยร้าวพื้นคอนกรีต ซึ่งรอยร้าวจะเกิดได้ 2 แบบ คือ 
2.1 รอยร้าวที่ผิวหน้าอันเกิดจากคอนกรีตไม่ได้มาตรฐาน หรือ การทำงานของช่างที่ไม่ได้มาตรฐาน 
2.2 รอยร้าวโครงการอันเกิดจากการทรุดตัวของพื้นดิน ดังในภาพคือรอยร้าวโครงสร้างที่สันนิษฐานว่าเกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินเนื่องจากการบดอัดดินเดิมไม่แน่น เมื่อชั้นดินทรุดตัวคอนกรีตก็จะทรดตัวลงตามและเกิดรอยร้าวขึ้น อีกสาเหตุนึงก็คือการที่เทคอนกรีตบางเกินไป เช่นลานจอดรถควรเทคอนกรีตหนา 10 cm ขึ้น แต่ถ้าเทคอนกรีต แค่ 3-5 cm คอนกรีตรับน้ำหนักรถไม่ไหวพื้นคอนกรีตก็อาจร้าวได้
3 พื้นกระเบื้องโพรงอันเนื่องมาจากการปูปูนกาวหรือปูนทรายไม่เต็มแผ่น ซึ่งอาจจะโพรงได้หลายแบบ เช่นโพรงบริเวณขอบกระเบื้องหรือโพรงบริเวณกลางแผ่นหรือโพรงทั้งแผ่น ซึ่งการแก้ไข ถ้าโพรงบริขอบกระเบื้องจะใช้วิธีหยอดน้ำปูนอัดเข้าไปให้เต็ม แต่ถ้าโพรงกลางแผ่นกระเบื้องต้องเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องอย่างเดียว การเปลี่ยนกระเบื้องต้องเลือกกระเบื้องล็อตเดิมสีจะได้เหมือนของเก่า เพราะถ้าเลือกกระเบื้องล็อตอื่นสีอาจเพี้ยนได้

4 พื้นลามิเนตยวบอันเกิดจากการติดตั้งไม่แน่นซึ่งจะเกิดบ่อยบริเวณขอบมุมห้องหรืออาจเกิดบริเวณกลางห้องด้วยเวลาวางเฟอร์นิเจอร์ตรงพื้นบริเวณที่ยวบไปนานๆจะทำให้บริเวณนั้นยุบลงไปอีกไม่สวยงาม

5 รอยแตกร้าวอันเกิดจากการผสมปูนที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือ การขยายตัวของวงกบ ประตู หรือการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
6 งานซิลิโคนหรือพียู วัสดุอุดรอยต่อ ประตูหน้าต่าง งานยาแนวกระเบื้องที่ติดตั้งไม่เรียบร้อย ทำให้ดูไม่สวยงาม หรือหากหน้าต่างติดตั้งซิลิโคนไม่ดีก็อาจทำให้เวลาฝนตกเกิดการรั่วซึมเข้ามาได้

ตัวอย่างการใช้เครื่องมือเฉพาะในการตรวจสอบแบบละเอียด

ตัวอย่างการตรวจสอบระดับพื้นโดยใช้เลเซอร์


ตัวอย่างการตรวจสอบองศาการติดตั้งประตู หน้าต่างและอื่นๆ


บริการตรวจสอบงานก่อสร้างที่มีปัญหาโดยทีมวิศวกรมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ ระดับ ภาคีวิศวกร , สามัญวิศวกร, วุฒิวิศวกร เพื่อฟ้องร้องผู้รับเหมา ฟ้องศคบ ฟ้องศาล หรืออื่นๆ


ตัวอย่างรายการ Defect ที่พบบ่อยในการตรวจงานระหว่างก่อสร้าง


-






   
ตัวอย่างระบบการเดินท่อน้ำที่สมบูรณ์ครับ
        การเดินท่อน้ำจาก ถังน้ำบนดิน, ถังน้ำใต้ดิน เป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับ ช่างผู้ชำนาญงาน แต่เป็นเรื่องที่ยาก   สำหรับเจ้าของบ้าน  ที่ต้องการจะเดินท่อเอง (เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย) หลายท่านมี ความรู้ในการเดินท่อPVC อยู่แล้ว  แต่ยังไม่ทราบ   วงจรการเดินท่อที่ถูกต้อง
        
        บทความนี้จะนำเสนอ  วงจรการเดินท่อน้ำจาก ถังน้ำ ถังเก็บน้ำ เข้าสู่ตัวบ้านที่ถูกต้องอีกวิธีหนึ่ง  เพื่อเป็นข้อมูลหรือเป็นแนวทางให้กับ ท่านที่คิดจะทำเองโดยไม่ต้องจ้างช่างให้เปลืองค่าใช้จ่าย   นอกจากนั้นยังเป็นประโยชน์ ในการแก้ไข และปรับปรุงระบบทางเดินน้ำในอนาคตอีกด้วย

        จากวงจรในภาพด้านบนนี้  หลายท่านคงจะเข้าใจการทำงานดีอยู่แล้ว  แต่บางท่านที่ยังไม่เข้าใจ ก็คงจะทำความเข้าใจได้ไม่ยาก  เพราะเรานำรูปของอุปกรณ์จริงๆมาใส่ไว้แล้วสัญญลักษณ์ V คือ"บอลวาล์ว"หรือวาล์วปิดเปิดน้ำนั่นเอง   สัญญลักษณ์ C คือ"เช็ควาล์ว""เช็ควาล์ว" (Check Valve) คือ อุปกรณ์ที่ป้องกันไม่ให้ น้ำไหลกลับทางเดิมนั่นเอง
 

 


 


        แต่การประกอบ เช็ควาล์ว เข้ากับท่อ PVC นั้น จะต้องให้เครื่องหมาย "ลูกศร" ที่อยู่ข้างเช็ควาล์ว  หันเข้าไปในบ้านจึงจะถูกต้อง  หลายท่านตกม้าตายมาแล้วไม่เว้นแม้ช่างผู้ชำนาญงาน ที่เผลอเรอหัน "ลูกศร"กลับทาง ต้องมาเสียเวลาตัดท่อเดินใหม่

 


        วงจรนี้มีทีเด็ด อยู่ที่มีระบบ "บายพาส"(ทางลัด) สองชั้น (ตามรูปอยู่ในวงกลมสีม่วง)โดยการต่อท่อจากระบบ "บายพาส" เดิมเข้าไปหาท่อน้ำเข้าปั๊ม จะช่วยเซพน้ำในถังไม่ให้หมดไวเกินไป เพราะน้ำที่มาจากท่อเมน จะช่วยเติมน้ำ เข้าปั๊มอยู่ตลอดเวลา ช่วยยืดอายุ"วาล์วลูกลอย" ไม่ให้เสื่อมสภาพไวเกินไป และ ยังช่วยสำรองน้ำได้บ้าง  ในเวลาปั๊มเสีย 

        หวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์กับท่านไม่มากก็น้อย ในโอกาสต่อไปเราจะนำบทความที่เป็นประโยชน์ มานำเสนอกับท่านอีกhttp://www.bp-tanks.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538822610&Ntype=10

 
สำหรับการตรวจสอบโครงสร้างอาคาร

การทดสอบหากำลังอัดคอนกรีตโดยใช้เครื่อง Schmidt Rebound Hammer นั้นเป็นการทดสอบแบบไม่ทำลาย (NDT; Non-Destructive Testing) ถูกคิดค้นโดยวิศวกรชาวเยอรมัน ในปี 1948 อาศัยหลักการสะท้อนกลับของมวลสปริง โดยค่าที่แสดงใน Indicator จะเรียกว่าค่า Rebound Number และนำไปเปิดตารางเพื่อเทียบหาค่า Compressive Strength ต่อไป กระบวนการนี้อ้างอิงตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials (ASTM) C805

Perfect-houses ขอเสนอบริการการตรวจสอบบ้านด้วยราคาที่พิเศษเริ่มต้นเพียง 4,000 บาท 
(ตรวจสอบ 2รอบ+รายงานพร้อมรูปถ่าย)



สำหรับการตรวจรอบแรก จะเป็นการตรวจเช็คงานจุด Defect ของงานสถาปัตย์ งานระบบไฟฟ้า งานระบบสุขาภิบาล
โดยทางเราจะทำเป็น List รายการที่ต้องแก้ไข และจัดทำเป็นรายงานให้แก่ลูกค้า และสรุปงานให้กับทางเจ้าของงาน เพื่อให้ทางเจ้าของงานนำไปแก้ไข

สำหรับการตรวจรอบที่สอง ทางเราจะไปตรวจเช็คตาม List  ของรายงานเดิม ว่าทางเจ้าของงานได้แก้ไข Defect ต่างๆที่เราได้ตรวจสอบรอบแรกไปแล้วหรือไม่ (บริการฟรีสำหรับรอบสอง)


ราคาค่าบริการการตรวจ


 ตรวจแบบครบวงจร โครงสร้าง สถาปัตย์ ไฟฟ้า ประปา 

* คอนโด พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า  40 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 4,000 บาท (ตรวจสอบ 2 ครั้ง)

* คอนโด พื้นที่ใช้สอย 40-50 ตร.ม      ราคาค่าบริการเริ่มต้น 4,500 บาท (ตรวจสอบ 2 ครั้ง)

 


* ทาวน์โฮม 2  ชั้น พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 140 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 5,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) 

* ทาวน์โฮม 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย     140-170 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 5,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

* ทาวน์โฮม 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 170-200 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 6,000 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

 


* บ้านเดี่ยวขนาดเล็ก  พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 160 ตร.ม. ราคาค่าบริการเริ่มต้น 5,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

* บ้านเดี่ยวขนาดกลาง พื้นที่ใช้สอย      160-200  ตร.ม  ราคาค่าบริการเริ่มต้น 6000 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

* บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่  พื้นที่ใช้สอย      200-260 ตร.ม  ราคาค่าบริการเริ่มต้น 6500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

* บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่พิเศษ  พื้นที่ใช้สอย      260-300 ตร.ม  ราคาค่าบริการเริ่มต้น 7,000 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)  

* บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่พิเศษ  พื้นที่ใช้สอย      300-360 ตร.ม  ราคาค่าบริการเริ่มต้น 7,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

* บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่พิเศษ  พื้นที่ใช้สอย      400-460 ตร.ม  ราคาค่าบริการเริ่มต้น 8,000 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)

             

 


ราคาที่แจ้งมาเป็นค่าบริการในเขตพื้นที่กทม กรณีที่ต้องเดินทางไปตรวจต่างจังหวัด

ขอคิดราคาค่าเดินทางบวกเพิ่มแล้วแต่ความใกล้ไกลนะครับ


จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบ

1.พื้นที่นอกตัวบ้าน

ด่านแรกสุดที่เราต้องตรวจคือพื้นที่ภายนอกตัวบ้านซึ่งแบ่งรายละเอียดปลีกย่อยได้ดังนี้

1.1 ประตูรั้ว

หากเป็นบานพับจะต้องเปิดปิดได้สะดวกไม่ฝืดเคือง ถ้าเป็นเเบบเลื่อนเปิดค้างไว้ตรงไหนจะต้องหยุดอยู่ตรงนั้น ไม่เลื่อนไหลเอง งานสีต้องทาเรียบร้อยครบทั้งบาน ไม่มีส่วนที่เห็นเนื้อวัสดุหรือขึ้นสนิม กลอนประตูสามารถใช้การได้ดี

1.2 รั้ว

รั้วจะต้องไม่เอียง ไม่ล้ม ไม่มีรอยแตกร้าว สีหรือวัสดุพื้นผิวจะต้องเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีคราบความสกปรกจากการก่อสร้าง

1.3 ดินถมรอบบ้าน

ดินที่ถมต้องถมเต็มพื้นที่ ปรับระดับของดินบริเวณรอบบ้านให้เรียบหรือเป็นเนินอย่างสวยงาม ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้างหรือคราบปูนหลงเหลือ

1.4 หญ้าและต้นไม้

หากโครงการสัญญาว่าจะปลูกหญ้าและต้นไม้ในบริเวณบ้าน ควรสั่งให้ลงมือปลูกภายหลังจากการตรวจบ้านเมื่อใกล้เวลาที่เราจะเข้าอยู่ ส่วนการลงต้นไม้ต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีการนำแผ่นพลาสติกหรือตาข่ายพลาสติกออกจากตุ้มดินหรือยัง

1.5 การระบายน้ำรอบที่ดิน

ตรวจสอบว่าบ้านมีรางระบายน้ำหรือจุดสำหรับระบายน้ำอยู่รอบที่ดินในทิศทางที่จะไม่ไหลย้อนกลับเข้าตัวบ้าน ท่อระบายน้ำจะต้องมีบ่อพักและฝาเปิดเพื่อการซ่อมบำรุงทุกระยะ 12 เมตร หากสามารถไปตรวจสอบทันทีหลังฝนหยุดตกจะทำให้เห็นทิศทางการระบายน้ำได้ดี

1.6 ที่จอดรถ

ตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นให้อยู่ในองศาที่พอเหมาะเพื่อป้องกันน้ำขังจากฝนสาดหรือน้ำล้างรถ พื้นผิวต้องเรียบเสมอไม่มีผิวขรุขระ ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์เพื่อความเเข็งแรงรองรับน้ำหนักของรถ

1.7 ผนังภายนอก

ตรวจสอบรอยแตกร้าวทั้งจากการฉาบปูนและทาสี สีจะต้องเรียบเนียนสม่ำเสมอ หากเป็นวัสดุบุผนังอื่นๆ จะต้องไม่แตกบิ่นหรือบวม

1.8 ระเบียงหรือเฉลียงนอกบ้าน

วัสดุปูพื้นเรียบร้อยสวยงาม ไม่ลื่นเวลาเปียกน้ำ และน้ำจะต้องไหลออกนอกตัวบ้านเสมอ

2.โครงสร้าง

ตามหลักแล้วการตรวจสอบโครงสร้างบ้านจะต้องดูกันระหว่างขั้นตอนก่อสร้าง ทว่าปัจจุบันหลายคนเลือกซื้อบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ การตรวจโครงสร้างจึงทำได้ไม่ละเอียดนักเพราะถูกปกปิดด้วยการตกแต่งส่วนต่างๆ แต่ก็ยังสามารถตรวจสอบคร่าวๆ ได้ตามจุดต่างๆ ดังนี้

2.1 เสาและคานส่วนของโครงสร้างเหล็ก

ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีรอยแยกระหว่างเสากับผนัง รูปแบบของเสาไม่แอ่นหรือโค้ง

2.2 พื้น

พื้นเรียบสม่ำเสมอ ไม่แอ่นหรือป่องขึ้นมา

2.3 เสาเอ็นและทับหลังรอบวงกบประตูหน้าต่าง

ไม่มีรอยแตกร้าวที่มุมวงกบประตูและหน้าต่าง

2.4 โครงสร้างเหล็กรับหลังคา

ต้องมีการทาสีเคลือบกันสนิมทั่วบริเวณ การเชื่อมต่อของโครงเหล็กจะต้องมั่นคงแข็งแรง ระยะห่างระหว่างระแนงรับกระเบื้องต้องเท่ากันสม่ำเสมอ

2.5 โครงสร้างไม้ฝ้าเพดาน

เนื้อไม้ต้องมีการเคลือบน้ำยาป้องกันปลวกทั่วทุกด้าน ไม่มีรอยผุหรือกัดแทะของแมลง

3.หลังคา

หน้าที่ของหลังคาคือการบังแดดและฝน การตรวจสอบว่าหลังคาอยู่ในสภาพดีหรือไม่จึงควรตรวจสอบหลังฝนตกหมาดๆ เพื่อหาจุดรั่วซึมได้ง่าย แต่หากไม่สามารถรอให้ฝนตกได้กต้องสังเกตจากคราบน้ำฝน โดยจุดสำคัญของหลังคาที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้

3.1 ชายคา

กระเบื้องทุกแผ่นติดตั้งอย่างแข็งแรง รอยต่อของวัสดุทำชายคาเชื่อมต่ออย่างเรียบร้อย ขอบชายคาได้แนวตรงทุกด้าน

3.2 ฝ้าเพดานใต้ชายคา

ใช้วัสดุที่กันน้ำได้ ไม่มีคราบน้ำรั่วซึม ติดตั้งเรียบร้อย ทาสีเรียบเนียนสม่ำเสมอ

3.3 ช่องระบายอากาศ

เรียบร้อยไม่คดงอ หากมีการเจาะรู ขนาดรูต้องเท่ากันสม่ำเสมอ ควรมีการติดตั้งมุ้งลวดใต้หลังคาเพื่อกันแมลงและสัตว์เล็ก

3.4 กระเบื้องหลังคา

ติดตั้งสวยงามได้แนวตรง ผูกลวดยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง สีกระเบื้องสม่ำเสมอตรงตามที่กำหนด

3.5 การรั่วซึมของหลังคา

ฝ้าใต้หลังคาต้องไม่มีคราบน้ำรั่วซึม กระเบื้องปูหลังคาแต่ละเเผ่นต้องแนบสนิท มองจากภายในบ้านแล้วไม่เห็นรูแสงผ่านเข้ามา

4.พื้น

พื้นคือส่วนที่เราสัมผัสมากที่สุดของบ้าน สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ด้วยการมองและการสัมผัส โดยมีจุดสำคัญที่ควรดูให้ละเอียดดังนี้

4.1 พื้นผิวในตัวบ้าน

เรียบเนียนสม่ำเสมอ เดินไม่สดุด ไม่นูน โก่งตัว หรือยุบเป็นโพรงใต้กระเบื้อง หากไม่ใช่ส่วนระบายน้ำต้องไม่เป็นแอ่ง

4.2 พื้นผิวส่วนเปียก

พื้นห้องน้ำ ลานจอดรถ ลานซักล้าง เฉลียงภายนอก ต้องมีความลาดเอียงพอเหมาะกับการระบายน้ำ และต้องไม่มีน้ำขังเป็นแอ่ง

4.3 บันได

ลูกนอนและลูกตั้งของบันไดต้องเท่ากันทุกขั้น แต่ละขั้นต้องได้ฉากและได้แนว เวลาเดินขึ้นลงต้องไม่ส่งเสียงดัง วัสดุเคลือบผิวเรียบร้อย ติดตั้งราวกันตกอย่างเเข้งแรง

4.5 การปูพื้นหรือติดตั้งวัสดุบุผิว

พื้นไม้ พื้นลามิเนต หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิค รวมถึงพรม รอยต่อต้องสนิทดี เรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีคราบน้ำหรือความชื้นจากภายใจ ยาแนวที่ใช้ต้องผสมสารกันซึมและเชื้อรา สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ไม่มีคราบสกปรก

5.ผนัง

ผนังเป็นส่วนที่มีพื้นผิวมากที่สุดของบ้าน มีรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนดังนี้

5.1 ระดับผิวหน้าผนัง

ต้องได้ดิ่งและได้ฉาก ผิวปูนฉาบหนังต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีสวนที่ปูดออกหรือยุบเป็นหลุม ไม่มีรอบแตกร้าว ทาสีเรียบสม่ำเสมอ

5.2 รอยต่อระหว่างพื้น ผนัง เพดาน

ต้องแนบสนิท ไม่มีรอยแตกระหว่างผนังกับพื้นและเพดาน

5.3 วัสดุบุผนัง

วิธีสังเกตเหมือนกับวัสดุปูพื้น คือเรียบเนียบเสมอกัน สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือบัวพื้น บัวเชิงผนัง และบัวฝ้าเพดาน ต้องติดตั้งแนบสนิบไม่โก่งหรือคดงอ ได้ระดับเท่ากันทั้งห้อง

6.ฝ้าเพดาน

เป็นส่วนที่ไกลจากการสัมผัสที่สุดเพราะอยู่สูง แต่ไม่ควรละเลยการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยทั่วไปฝ้าเพดานจะใช้วัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ ยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ ฝ้าทีบาร์ และฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ โดยมีจุดสังเกตดังต่อไปนี้

6.1 ระดับของฝ้า

ได้รับดับเท่ากันทั้งห้อง ไม่ตกท้องช้างหรือเว้าขึ้นบน ขอบฝ้าอยู่ในระดับตรง ควรมีช่องเซอร์วิสสำหรับเปิดขึ้นไปตรวจสอบใต้หลังคา

6.2 การเชื่อมต่อฝ้า

หากเป็นฝ้ายิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบต้องไม่เห็นรอยต่อ ส่วนฝ้าทีบาร์เส้นทีบาร์ต้องตรงได้ระดับไม่คดงอ แผ่นฝ้าที่ใส่ช่องทีบาร์ต้องเป็นมุมฉากทั้งหมด ขณะที่ฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ รอยต่อต้องมีขนาดสม่ำเสมอและเป็นเส้นตรง

6.3 สีฟ้าเพดาน

สีต้องเรียบเนียบสวยงาม ไม่มีคราบสกปรก

7.ช่องเปิด

ช่องเปิดคือช่องต่างๆ ที่เปิดออกจากตัวบ้าน ได้แก่ ช่องประตู ช่องหน้าต่าง ช่องแสง ช่องระบายอากาศ บานเกล็ด ผนังอิฐแก้ว ฯลฯมีเรื่องที่ต้องตรวจสอบดังนี้

7.1 กรอบของช่องเปิด

กรอบของทุกช่องเปิดต้องได้แนวและระดับ มีการทำทับหลังและเสาเอ็น ช่องเปิดต้องได้ฉากและขนาดที่ถูกต้อง เปิดปิดได้สะดวก ไม่มีช่องว่างระหว่างบานกรอบกับวงกบ

7.2 กระจก

ไม่มีรอยแตกร้าวหรือขีดข่วน กดดูแล้วไม่หลุดออกจากบานหรือโก่งจนเหมือนจะแตก รอยต่อระหว่างกระจกกับบานหรือวงกบต้องแนบสนิท

7.3 อุปกรณ์ต่างๆ

ใช้งานได้ดี ลงกลอนได้สุดทุกตัว มือจับและลูกบิดติดตั้งแข็งแรง ไม่หลวมหลุดเมื่องออกแรงดึง

8.ไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีตั้งแต่ระดับง่ายสำหรับเจ้าของบ้านทั่วไป จนถึงระดับยากที่ต้องอาศัยความรู้เชิงช่าง มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้

8.1 ปลั๊กไฟฟ้า

ใช้งานได้ทุกจุด ฝาครอบไม่หมองคล้ำหรือมีรอยดำ ควรตรวจสอบด้วยไขควงวัดไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอย่าลืมลองกดกลิ่งหน้าบ้านดูด้วยว่าใช้งานได้หรือไม่

8.2 สวิทช์ไฟฟ้า

เปิดปิดได้อย่างสะดวก ควรลองเปิดปิดแรงๆ หลายครั้ง และฝาครอบต้องไม่หมองคล้ำหรือมีรอยดำ

8.3 ไฟแสงสว่าง

หลอดไฟฟ้าทุกดวงทั้งในและนอกบ้านต้องเปิดได้ทุกดวง ไม่มีคราบดำ

8.4 การเดินสายไฟฟ้า

ต้องเดินเรียบร้อยสวยงาม แบบลอยต้องมีการตีกิ๊บเรียบร้อย ส่วนการเดินลอยบริเวณมุมต้องเข้ามุมสวยงาม ไม่มีบริเวณใดของสายที่เป้นรอยคล้ำหรือดำ

8.5 อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

ตามปกติโครงการบ้านจะแถมเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานอย่าง เครื่องปรับอากาศ พัดลมดูดอากาศ เครื่องดูดควัน เตาไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ ควรทดลองเปิดอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมๆ กันเพื่อตรวจดูการใช้ไฟว่าปกติดีหรือไม่ และต้องขอใบรับประกันของอุปกรณ์ทุกชิ้นเก็บไว้ด้วย

8.6 สายดิน

ต้องมีการเดินสายดินไว้อย่างเรียบร้อยทุกปลั๊กไฟฟ้า และต้องสอบถามที่ฝังแท่งเหล็กของสายดินให้ทราบชัดเจนว่าอยู๋ตรงไหน

9.สุขาภิบาล

ระบบนี้จะเกี่ยวกับเรื่องน้ำทั้งหมดในบ้าน มีจุดสำคัญต้องตรวจสอบดังนี้

9.1 การติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์

ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้ระนาบและได้ฉาก มั่นคงแข็งแรง ผิวสุขภัณฑ์เรียบเนียนไม่มีรอยด่างหรือคราบสกปรก

9.2 ก๊อกน้ำ

ใช้งานได้ดี เปิดปิดไม่ติดขัดหรือหลวม น้ำไหลโดยสะดวกไม่เบาผิดปกติ เมื่อปิดก๊อกแล้วต้องไม่มีน้ำหยดซึม

9.3 อ่างล้างหน้าและอ่างอาบน้ำ

ติดตั้งในตำแหน่งและระดับความสูงที่ถูกต้อง ช่องน้ำล้นและสะดือระบายน้ำได้ดี พื้นผิวเรียบเนียน สะอาดไม่มีคราบสกปรก

9.4 จุดระบายน้ำที่พื้น

สามารถระบายน้ำได้เป็นอย่างดีในเวลาที่รวดเร็ว โดยที่ระบายน้ำควรมีถ้วยดักกลิ่นหรือติดตั้งระบบดักกลิ่นด้วยท่อข้องอขังน้ำกันกลิ่น

9.5 ระบบท่อ

ต้องไม่มีรอยรั่วของน้ำทุกจุดของท่อและข้อต่อ เมื่อปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้วมิเตอร์ต้องไม่เดิน

9.6 โถส้วม

กดน้ำแล้วสามารถชำระสิ่งปฏิกูลได้เป็นอย่างดี ยาแนวที่ฐานเรียบร้อยไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน และไม่มีฟองอากาศผุดขึ้นในโฐเมื่อมีการใช้งานโถส้วมห้องน้ำห้องอื่น

   
รายการตรวจสอบ

หมวดงานภายใน

1. งานสถาปัตยกรรม



1.1 งานพื้น ได้แก่ ความเรียบร้อยของวัสดุปูพื้น พื้นไม้ลามิเนต พื้นไม้ปาเก้ ฯลฯ

1.2 งานผนัง ได้แก่ การฉาบผิว ความเรียบร้อยของวัสดุบุผิว งานสี การจับเสี้ยมตามขอบมุม แนวดิ่งฉาก 
     ขอบมุม บัวเชิง เพดาน/ผนัง 

1.3 งานฝ้า ได้แก่ การติดตั้งแผ่นฝ้า เหลี่ยมมุม ความเรียบร้อยของงานสี รอยรั่วซึม โครงเคร่า

1.4 งานประตู/หน้าต่าง ได้แก่ ตัวบาน วงกบ การใช้การ อุปกรณ์การล็อค ลูกบิด มุ้งลวด การรั่ว ซึม 


2. งานไฟฟ้า



2.1 งานไฟฟ้าเมน ได้แก่ ตู้ Load ตรวจสอบความถูกต้องของขนาดเบรกเกอร์เมน/เบรกเกอร์ย่อย 

2.2 ขนาดของสายไฟวงจรหลักและสายไฟวงจรย่อย การต่อสายโทรศัพท์ การต่อสายทีวี

2.3 งานอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้แก่ ตรวจสอบความถูกต้องของดวงโคม ดาวไล กระดิ่ง

2.4 งานระบบสื่อสาร ได้แก่ งานระบบทีวี/โทรศัพท์

2.5 ปรับอากาศ ได้แก่ การทำงานของเครื่องปรับอากาศ



3. งานใต้หลังคา



3.1งานโครงสร้างหลังคา ได้แก่ ตรวจสอบวัสดุว่าได้ตามมาตรฐานหรือไม่ ตรวจสอบการติดตั้งตรวจสอบสภาพของฉนวนกันความร้อนหรือแผ่นสะท้อนความร้อน

3.2 งานระบบไฟฟ้า ได้แก่ การวางตำแหน่ง การติดตั้ง การเดินท่อไฟ การต่อสายไฟหรือการเชื่อมสาย 

3.3 ขนาดสายไฟตามมาตรฐาน งานท่ออากาศ 

3.4 งานฝ้าเพดาน ได้แก่ ความเรียบร้อยวัสดุที่ใช้ทำฝ้า การติดตั้ง โครงเคร่าหลัก โครงเคร่ารอง ลวดผูกฝ้า

4. งานระบบสุขาภิบาล

  

 

4.1 บ่อพักน้ำ การติดตั้ง สภาพภายใน การระบายน้ำ ความสะอาดภายใน การเชื่อมต่อท่อ เป็นต้น

4.2 บ่อบำบัด ได้แก่ สภาพภายใน การระบายน้ำ สภาพตะแกรง/ลูกตะกร้อ ความสะอาดภายใน เป็นต้น

4.3 บ่อดักไขมัน ได้แก่ การติดตั้ง สภาพ ภายใน สภาพตะแกรงดักขยะ การระบายน้ำ การเชื่อม ต่อท่อเป็นต้น 

4.4 งานสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ต่างๆในห้องน้ำ ได้แก่ ตรวจสอบการใช้งาน การติดตั้ง ความสมบูรณ์ ของวัสดุ 

4.5 การรั่วซึมของท่อตามข้อต่อต่างๆ


หมวดงานภายนอกอาคาร



5.1 งานสถาปัตภายนอก ได้แก่การทาสี/วัสดุบุผิว ชายคา ฝ้าระแนงรอบอาคาร 

5.2 งานระบายน้ำ ได้แก่ การระบายน้ำของท่อระบายน้ำรอบอาคาร เศษวัสดุภายในท่อ ความเรียบร้อยของฝาท่อ 

5.3 งานกำแพงรั้ว ได้แก่ การฉาบ ความเรียบร้อยของวัสดุบุผิว/งานสี แนวดิ่งฉาก ขอบมุม

5.4 งานรั้ว ได้แก่ สภาพโดยทั่วไป การเปิด-ปิด อุปกรณ์ที่ใช้ร่วม

5.5 งานสวน ได้แก่ การปรับระดับดิน/ไม่มีเศษวัสดุ

5.6 งานที่จอดรถ ได้แก่ ความเรียบร้อยของวัสดุปู ความสมบูรณ์ของการปูผิว สี/ลาย ความลาดเอียงของพื้น ฝ้า หลังคา




ผลงานที่ตรวจสอบบางส่วน









                                     

 


 
 
 
     
                  
  ติดต่อสอบถาม
   HotLine : 0927609018 , 0971089173
    Line id:    @sivalee
   Email:  [email protected]



                          



Our Services
   
เกร็ดความรู้เรื่องบ้าน
ปัญหาผนังอาคารแตกร้าว 
ปัญหาอาคารเอียงทรุด
เกร็ดความรู้ พื้นไม้ปาร์เก้ 
เกร็ดความรู้ พื้นไม้ลามิเนต
ระบบการเดินน้ำที่สมบูรณ์แบบ
ข้อดีของโครงหลังคาสมาร์ททรัส
สมัยนี้ใครที่ซื้อบ้านใหม่แล้วไม่มีบ่อดักไขมัน ผิดกฏหมายนะครับ