Perfect-houses ขอเสนอบริการการตรวจสอบบ้านด้วยราคาที่พิเศษเริ่มต้นเพียง 6,500 บาท (ตรวจสอบ 2รอบ+รายงานพร้อมรูปถ่าย)
สำหรับการตรวจรอบแรก จะเป็นการตรวจเช็คงานจุด Defect ของงานสถาปัตย์ งานระบบไฟฟ้า งานระบบสุขาภิบาล โดยทางเราจะทำเป็น List รายการที่ต้องแก้ไข และจัดทำเป็นรายงานให้แก่ลูกค้า และสรุปงานให้กับทางเจ้าของงาน เพื่อให้ทางเจ้าของงานนำไปแก้ไข
สำหรับการตรวจรอบที่สอง ทางเราจะไปตรวจเช็คตาม List ของรายงานเดิม ว่าทางเจ้าของงานได้แก้ไข Defect ต่างๆที่เราได้ตรวจสอบรอบแรกไปแล้วหรือไม่ (บริการฟรีสำหรับรอบสอง) ราคาค่าบริการการตรวจ
ตรวจแบบครบวงจร โครงสร้าง สถาปัตย์ ไฟฟ้า ประปา
* คอนโด พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 40 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 4,500 บาท (ตรวจสอบ 2 ครั้ง) * คอนโด พื้นที่ใช้สอย 40-50 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 5,500 บาท (ตรวจสอบ 2 ครั้ง)
* ทาวน์โฮม 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 140 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 6,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) * ทาวน์โฮม 2 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 140-200 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 7,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) * ทาวน์โฮม 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอย 200-300 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 8,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) * บ้านเดี่ยวขนาดเล็ก พื้นที่ใช้สอยน้อยกว่า 140 ตร.ม. ราคาค่าบริการเริ่มต้น 6,500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)
* บ้านเดี่ยวขนาดกลาง พื้นที่ใช้สอย 140-200 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 7500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) * บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ พื้นที่ใช้สอย 200-250 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 8500 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง) * บ้านเดี่ยวขนาดใหญ่พิเศษ พื้นที่ใช้สอย 250-300 ตร.ม ราคาค่าบริการเริ่มต้น 10,000 บาท(ตรวจ 2 ครั้ง)
ราคาที่แจ้งมาเป็นค่าบริการในเขตพื้นที่กทม กรณีที่ต้องเดินทางไปตรวจต่างจังหวัด ขอคิดราคาค่าเดินทางบวกเพิ่มแล้วแต่ความใกล้ไกลนะครับ
จุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบ1.พื้นที่นอกตัวบ้านด่านแรกสุดที่เราต้องตรวจคือพื้นที่ภายนอกตัวบ้านซึ่งแบ่งรายละเอียดปลีกย่อยได้ดังนี้ 1.1 ประตูรั้ว หากเป็นบานพับจะต้องเปิดปิดได้สะดวกไม่ฝืดเคือง ถ้าเป็นเเบบเลื่อนเปิดค้างไว้ตรงไหนจะต้องหยุดอยู่ตรงนั้น ไม่เลื่อนไหลเอง งานสีต้องทาเรียบร้อยครบทั้งบาน ไม่มีส่วนที่เห็นเนื้อวัสดุหรือขึ้นสนิม กลอนประตูสามารถใช้การได้ดี 1.2 รั้ว รั้วจะต้องไม่เอียง ไม่ล้ม ไม่มีรอยแตกร้าว สีหรือวัสดุพื้นผิวจะต้องเรียบร้อยสวยงาม ไม่มีคราบความสกปรกจากการก่อสร้าง 1.3 ดินถมรอบบ้าน ดินที่ถมต้องถมเต็มพื้นที่ ปรับระดับของดินบริเวณรอบบ้านให้เรียบหรือเป็นเนินอย่างสวยงาม ไม่มีเศษวัสดุก่อสร้างหรือคราบปูนหลงเหลือ 1.4 หญ้าและต้นไม้ หากโครงการสัญญาว่าจะปลูกหญ้าและต้นไม้ในบริเวณบ้าน ควรสั่งให้ลงมือปลูกภายหลังจากการตรวจบ้านเมื่อใกล้เวลาที่เราจะเข้าอยู่ ส่วนการลงต้นไม้ต้องตรวจสอบให้ดีว่ามีการนำแผ่นพลาสติกหรือตาข่ายพลาสติกออกจากตุ้มดินหรือยัง 1.5 การระบายน้ำรอบที่ดิน ตรวจสอบว่าบ้านมีรางระบายน้ำหรือจุดสำหรับระบายน้ำอยู่รอบที่ดินในทิศทางที่จะไม่ไหลย้อนกลับเข้าตัวบ้าน ท่อระบายน้ำจะต้องมีบ่อพักและฝาเปิดเพื่อการซ่อมบำรุงทุกระยะ 12 เมตร หากสามารถไปตรวจสอบทันทีหลังฝนหยุดตกจะทำให้เห็นทิศทางการระบายน้ำได้ดี 1.6 ที่จอดรถ ตรวจสอบความลาดเอียงของพื้นให้อยู่ในองศาที่พอเหมาะเพื่อป้องกันน้ำขังจากฝนสาดหรือน้ำล้างรถ พื้นผิวต้องเรียบเสมอไม่มีผิวขรุขระ ก่อสร้างด้วยปูนซีเมนต์เพื่อความเเข็งแรงรองรับน้ำหนักของรถ 1.7 ผนังภายนอก ตรวจสอบรอยแตกร้าวทั้งจากการฉาบปูนและทาสี สีจะต้องเรียบเนียนสม่ำเสมอ หากเป็นวัสดุบุผนังอื่นๆ จะต้องไม่แตกบิ่นหรือบวม 1.8 ระเบียงหรือเฉลียงนอกบ้าน วัสดุปูพื้นเรียบร้อยสวยงาม ไม่ลื่นเวลาเปียกน้ำ และน้ำจะต้องไหลออกนอกตัวบ้านเสมอ 2.โครงสร้างตามหลักแล้วการตรวจสอบโครงสร้างบ้านจะต้องดูกันระหว่างขั้นตอนก่อสร้าง ทว่าปัจจุบันหลายคนเลือกซื้อบ้านที่สร้างเสร็จพร้อมอยู่ การตรวจโครงสร้างจึงทำได้ไม่ละเอียดนักเพราะถูกปกปิดด้วยการตกแต่งส่วนต่างๆ แต่ก็ยังสามารถตรวจสอบคร่าวๆ ได้ตามจุดต่างๆ ดังนี้ 2.1 เสาและคานส่วนของโครงสร้างเหล็ก ไม่มีรอยแตกร้าว ไม่มีรอยแยกระหว่างเสากับผนัง รูปแบบของเสาไม่แอ่นหรือโค้ง 2.2 พื้น พื้นเรียบสม่ำเสมอ ไม่แอ่นหรือป่องขึ้นมา 2.3 เสาเอ็นและทับหลังรอบวงกบประตูหน้าต่าง ไม่มีรอยแตกร้าวที่มุมวงกบประตูและหน้าต่าง 2.4 โครงสร้างเหล็กรับหลังคา ต้องมีการทาสีเคลือบกันสนิมทั่วบริเวณ การเชื่อมต่อของโครงเหล็กจะต้องมั่นคงแข็งแรง ระยะห่างระหว่างระแนงรับกระเบื้องต้องเท่ากันสม่ำเสมอ 2.5 โครงสร้างไม้ฝ้าเพดาน เนื้อไม้ต้องมีการเคลือบน้ำยาป้องกันปลวกทั่วทุกด้าน ไม่มีรอยผุหรือกัดแทะของแมลง 3.หลังคาหน้าที่ของหลังคาคือการบังแดดและฝน การตรวจสอบว่าหลังคาอยู่ในสภาพดีหรือไม่จึงควรตรวจสอบหลังฝนตกหมาดๆ เพื่อหาจุดรั่วซึมได้ง่าย แต่หากไม่สามารถรอให้ฝนตกได้กต้องสังเกตจากคราบน้ำฝน โดยจุดสำคัญของหลังคาที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้ 3.1 ชายคา กระเบื้องทุกแผ่นติดตั้งอย่างแข็งแรง รอยต่อของวัสดุทำชายคาเชื่อมต่ออย่างเรียบร้อย ขอบชายคาได้แนวตรงทุกด้าน 3.2 ฝ้าเพดานใต้ชายคา ใช้วัสดุที่กันน้ำได้ ไม่มีคราบน้ำรั่วซึม ติดตั้งเรียบร้อย ทาสีเรียบเนียนสม่ำเสมอ 3.3 ช่องระบายอากาศ เรียบร้อยไม่คดงอ หากมีการเจาะรู ขนาดรูต้องเท่ากันสม่ำเสมอ ควรมีการติดตั้งมุ้งลวดใต้หลังคาเพื่อกันแมลงและสัตว์เล็ก 3.4 กระเบื้องหลังคา ติดตั้งสวยงามได้แนวตรง ผูกลวดยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง สีกระเบื้องสม่ำเสมอตรงตามที่กำหนด 3.5 การรั่วซึมของหลังคา ฝ้าใต้หลังคาต้องไม่มีคราบน้ำรั่วซึม กระเบื้องปูหลังคาแต่ละเเผ่นต้องแนบสนิท มองจากภายในบ้านแล้วไม่เห็นรูแสงผ่านเข้ามา 4.พื้นพื้นคือส่วนที่เราสัมผัสมากที่สุดของบ้าน สามารถตรวจสอบความเรียบร้อยได้ด้วยการมองและการสัมผัส โดยมีจุดสำคัญที่ควรดูให้ละเอียดดังนี้ 4.1 พื้นผิวในตัวบ้าน เรียบเนียนสม่ำเสมอ เดินไม่สดุด ไม่นูน โก่งตัว หรือยุบเป็นโพรงใต้กระเบื้อง หากไม่ใช่ส่วนระบายน้ำต้องไม่เป็นแอ่ง 4.2 พื้นผิวส่วนเปียก พื้นห้องน้ำ ลานจอดรถ ลานซักล้าง เฉลียงภายนอก ต้องมีความลาดเอียงพอเหมาะกับการระบายน้ำ และต้องไม่มีน้ำขังเป็นแอ่ง 4.3 บันได ลูกนอนและลูกตั้งของบันไดต้องเท่ากันทุกขั้น แต่ละขั้นต้องได้ฉากและได้แนว เวลาเดินขึ้นลงต้องไม่ส่งเสียงดัง วัสดุเคลือบผิวเรียบร้อย ติดตั้งราวกันตกอย่างเเข้งแรง 4.5 การปูพื้นหรือติดตั้งวัสดุบุผิว พื้นไม้ พื้นลามิเนต หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิค รวมถึงพรม รอยต่อต้องสนิทดี เรียบเนียนเสมอกัน ไม่มีคราบน้ำหรือความชื้นจากภายใจ ยาแนวที่ใช้ต้องผสมสารกันซึมและเชื้อรา สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ไม่มีคราบสกปรก 5.ผนังผนังเป็นส่วนที่มีพื้นผิวมากที่สุดของบ้าน มีรายละเอียดที่ต้องตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนดังนี้ 5.1 ระดับผิวหน้าผนัง ต้องได้ดิ่งและได้ฉาก ผิวปูนฉาบหนังต้องเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีสวนที่ปูดออกหรือยุบเป็นหลุม ไม่มีรอบแตกร้าว ทาสีเรียบสม่ำเสมอ 5.2 รอยต่อระหว่างพื้น ผนัง เพดาน ต้องแนบสนิท ไม่มีรอยแตกระหว่างผนังกับพื้นและเพดาน 5.3 วัสดุบุผนัง วิธีสังเกตเหมือนกับวัสดุปูพื้น คือเรียบเนียบเสมอกัน สีสม่ำเสมอถูกต้องตามแบบ ส่วนที่เพิ่มขึ้นมาคือบัวพื้น บัวเชิงผนัง และบัวฝ้าเพดาน ต้องติดตั้งแนบสนิบไม่โก่งหรือคดงอ ได้ระดับเท่ากันทั้งห้อง 6.ฝ้าเพดานเป็นส่วนที่ไกลจากการสัมผัสที่สุดเพราะอยู่สูง แต่ไม่ควรละเลยการตรวจสอบอย่างละเอียด โดยทั่วไปฝ้าเพดานจะใช้วัสดุ 3 ชนิด ได้แก่ ยิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบ ฝ้าทีบาร์ และฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ โดยมีจุดสังเกตดังต่อไปนี้ 6.1 ระดับของฝ้า ได้รับดับเท่ากันทั้งห้อง ไม่ตกท้องช้างหรือเว้าขึ้นบน ขอบฝ้าอยู่ในระดับตรง ควรมีช่องเซอร์วิสสำหรับเปิดขึ้นไปตรวจสอบใต้หลังคา 6.2 การเชื่อมต่อฝ้า หากเป็นฝ้ายิบซั่มบอร์ดฉาบเรียบต้องไม่เห็นรอยต่อ ส่วนฝ้าทีบาร์เส้นทีบาร์ต้องตรงได้ระดับไม่คดงอ แผ่นฝ้าที่ใส่ช่องทีบาร์ต้องเป็นมุมฉากทั้งหมด ขณะที่ฝ้าแผ่นกระเบื้องซีเมนต์ รอยต่อต้องมีขนาดสม่ำเสมอและเป็นเส้นตรง 6.3 สีฟ้าเพดาน สีต้องเรียบเนียบสวยงาม ไม่มีคราบสกปรก 7.ช่องเปิดช่องเปิดคือช่องต่างๆ ที่เปิดออกจากตัวบ้าน ได้แก่ ช่องประตู ช่องหน้าต่าง ช่องแสง ช่องระบายอากาศ บานเกล็ด ผนังอิฐแก้ว ฯลฯมีเรื่องที่ต้องตรวจสอบดังนี้ 7.1 กรอบของช่องเปิด กรอบของทุกช่องเปิดต้องได้แนวและระดับ มีการทำทับหลังและเสาเอ็น ช่องเปิดต้องได้ฉากและขนาดที่ถูกต้อง เปิดปิดได้สะดวก ไม่มีช่องว่างระหว่างบานกรอบกับวงกบ 7.2 กระจก ไม่มีรอยแตกร้าวหรือขีดข่วน กดดูแล้วไม่หลุดออกจากบานหรือโก่งจนเหมือนจะแตก รอยต่อระหว่างกระจกกับบานหรือวงกบต้องแนบสนิท 7.3 อุปกรณ์ต่างๆ ใช้งานได้ดี ลงกลอนได้สุดทุกตัว มือจับและลูกบิดติดตั้งแข็งแรง ไม่หลวมหลุดเมื่องออกแรงดึง 8.ไฟฟ้าการตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีตั้งแต่ระดับง่ายสำหรับเจ้าของบ้านทั่วไป จนถึงระดับยากที่ต้องอาศัยความรู้เชิงช่าง มีรายละเอียดคร่าวๆ ดังนี้ 8.1 ปลั๊กไฟฟ้า ใช้งานได้ทุกจุด ฝาครอบไม่หมองคล้ำหรือมีรอยดำ ควรตรวจสอบด้วยไขควงวัดไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า และอย่าลืมลองกดกลิ่งหน้าบ้านดูด้วยว่าใช้งานได้หรือไม่ 8.2 สวิทช์ไฟฟ้า เปิดปิดได้อย่างสะดวก ควรลองเปิดปิดแรงๆ หลายครั้ง และฝาครอบต้องไม่หมองคล้ำหรือมีรอยดำ 8.3 ไฟแสงสว่าง หลอดไฟฟ้าทุกดวงทั้งในและนอกบ้านต้องเปิดได้ทุกดวง ไม่มีคราบดำ 8.4 การเดินสายไฟฟ้า ต้องเดินเรียบร้อยสวยงาม แบบลอยต้องมีการตีกิ๊บเรียบร้อย ส่วนการเดินลอยบริเวณมุมต้องเข้ามุมสวยงาม ไม่มีบริเวณใดของสายที่เป้นรอยคล้ำหรือดำ 8.5 อุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ ตามปกติโครงการบ้านจะแถมเครื่องใช้ไฟฟ้าพื้นฐานอย่าง เครื่องปรับอากาศ พัดลมดูดอากาศ เครื่องดูดควัน เตาไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ฯลฯ ควรทดลองเปิดอุปกรณ์ทั้งหมดพร้อมๆ กันเพื่อตรวจดูการใช้ไฟว่าปกติดีหรือไม่ และต้องขอใบรับประกันของอุปกรณ์ทุกชิ้นเก็บไว้ด้วย 8.6 สายดิน ต้องมีการเดินสายดินไว้อย่างเรียบร้อยทุกปลั๊กไฟฟ้า และต้องสอบถามที่ฝังแท่งเหล็กของสายดินให้ทราบชัดเจนว่าอยู๋ตรงไหน 9.สุขาภิบาลระบบนี้จะเกี่ยวกับเรื่องน้ำทั้งหมดในบ้าน มีจุดสำคัญต้องตรวจสอบดังนี้ 9.1 การติดตั้งสุขภัณฑ์และอุปกรณ์ ติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้อง ได้ระนาบและได้ฉาก มั่นคงแข็งแรง ผิวสุขภัณฑ์เรียบเนียนไม่มีรอยด่างหรือคราบสกปรก 9.2 ก๊อกน้ำ ใช้งานได้ดี เปิดปิดไม่ติดขัดหรือหลวม น้ำไหลโดยสะดวกไม่เบาผิดปกติ เมื่อปิดก๊อกแล้วต้องไม่มีน้ำหยดซึม 9.3 อ่างล้างหน้าและอ่างอาบน้ำ ติดตั้งในตำแหน่งและระดับความสูงที่ถูกต้อง ช่องน้ำล้นและสะดือระบายน้ำได้ดี พื้นผิวเรียบเนียน สะอาดไม่มีคราบสกปรก 9.4 จุดระบายน้ำที่พื้น สามารถระบายน้ำได้เป็นอย่างดีในเวลาที่รวดเร็ว โดยที่ระบายน้ำควรมีถ้วยดักกลิ่นหรือติดตั้งระบบดักกลิ่นด้วยท่อข้องอขังน้ำกันกลิ่น 9.5 ระบบท่อ ต้องไม่มีรอยรั่วของน้ำทุกจุดของท่อและข้อต่อ เมื่อปิดระบบน้ำทั้งหมดแล้วมิเตอร์ต้องไม่เดิน 9.6 โถส้วม กดน้ำแล้วสามารถชำระสิ่งปฏิกูลได้เป็นอย่างดี ยาแนวที่ฐานเรียบร้อยไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน และไม่มีฟองอากาศผุดขึ้นในโฐเมื่อมีการใช้งานโถส้วมห้องน้ำห้องอื่น |